เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ซ้อมถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี”
เธออย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า เธอไม่ใช่
ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ไม่มีประจำ
เดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ซับเสมอหรือ ไม่ใช่คนไหลซึม
หรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มีลักษณะคล้ายชาย
หรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ อาพาธเหล่านี้ ของ
เธอมีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เธอเป็น
มนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็นราชภัฏ
หรือ บิดามารดาหรือสามีอนุญาตเธอแล้วหรือ เธอมีอายุครบ 20 ปีแล้วหรือ เธอ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับสิกขมานาอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขา ไม่พึงเดิน
มาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
กรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ดิฉัน
สอนซ้อมเธอแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงเข้ามาได้
พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขาว่า “เธอจงเข้ามาเถิด”

คำขออุปสมบทต่อภิกษุณีสงฆ์
พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งประนมมือ ขออุปสมบทว่า
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :349 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ 2 สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ 3 สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด

คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ดังนี้
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เราจะถามถึงสิ่งที่เกิด
สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ
เธอไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ฯลฯ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[425] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้า
ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรม เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบท
ต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้บริสุทธิ์
จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อ
สงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี
แม่เจ้ารูปใด เห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูป
นั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :350 }