เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง
มีลักษณะคล้ายชายบ้าง มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มีสองเพศ(อุภโตพยัญชนก)
บ้าง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรม
24 ประการกับสตรีผู้จะอุปสมบท
ภิกษุทั้งหลาย พึงสอบถามอย่างนี้

วิธีสอบถามอันตรายิกธรรม
เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่
ผู้ไม่มีประจำเดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ผ้าซับเสมอหรือ
ไม่ใช่คนไหลซึมหรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มี
ลักษณะคล้ายชายหรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ
เธอมีโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
เธอเป็นมนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็น
ราชภัฏหรือ มารดาบิดาหรือสามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว
หรือ เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินี1ของเธอชื่ออะไร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณีทั้งหลาย สตรี
อุปสัมปทาเปกขา(ผู้มุ่งจะอุปสมบท)ย่อมกระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขา
ผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่าย
ภิกษุสงฆ์ได้”2

เชิงอรรถ :
1 ปวัตตินี คือ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นอุปัชฌาย์
2 ผู้จะเป็นภิกษุณีทั้งหลายต้องบวชจากสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :346 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [10. ภิกขุนี ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสอบถามอันตรายิกธรรมสตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้ยัง
ไม่ได้รับการสอนซ้อม พวกเธอย่อมกระดากอายเก้อเขินไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วสอบ
ถามอันตรายิกธรรมภายหลัง
ภิกษุณีทั้งหลายได้สอนซ้อมท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง สตรีอุปสัมปทาเปกขาก็ยัง
กระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้เหมือนเดิม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมกันได้ในที่สมควร
แล้วจึงสอบถามอันตรายิกธรรมท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายพึงสอนซ้อมอย่างนี้

คำบอกบาตรและจีวร
[424] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขาถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์
แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก นี้ผ้า
รัดถัน นี้ผ้าอาบน้ำของเธอ เธอจงออกไปยืนที่โน้น”

เรื่องภิกษุณีโง่เขลาสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาดสอนซ้อม สตรีอุปสัมปทาเปกขาได้รับการสอน
ซ้อมไม่ดีจึงสะทกสะท้านเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้โง่เขลาไม่ฉลาดไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ
สอนซ้อม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :347 }