เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
(1) ภิกษุเป็นปาราชิก
(2) ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
(3) ภิกษุบอกคืนสิกขา
(4) ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
(5) ภิกษุไม่ร่วมสามัคคี
(6) พูดค้านสามัคคี
(7) คำค้านสามัคคีค้างอยู่
(8-10) มีผู้ได้เห็นได้ยินและนึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะเห็นเอง ผู้อื่นบอกเธอหรือ
ผู้เป็นปาราชิกนั้นบอกความจริงแก่เธอ
บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย 10 อย่าง คือ
พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย
สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต และพรหมจรรย์ อธิบายความเรื่องงด
ปาติโมกข์ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรมตามที่กำหนดไว้
ภิกษุผู้โจทก์พึงตั้งคุณสมบัติภายในตน คือ
กล่าวโดยกาลที่ควร กล่าวคำจริง คำที่มีประโยชน์
จะเป็นพรรคพวกมีทะเลาะกันเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย
วาจาบริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต
รู้ปาติโมกข์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุพึงโจทโดยกาลอันควร กล่าวด้วยเรื่องจริง
ด้วยคำสุภาพ ด้วยคำที่มีประโยชน์
ด้วยเมตตาจิตเพราะถูกโจทโดยไม่
ชอบธรรมภิกษุเดือดร้อน
ก็พึงบรรเทาความเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :311 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ภิกษุผู้โจทก์และผู้ถูกโจทชอบธรรม
พึงบรรเทาความเดือดร้อน
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศข้อปฎิบัติของภิกษุผู้จะโจทไว้
5 อย่าง คือ ความการุณ มุ่งประโยชน์ มีความเอ็นดู
การออกจากอาบัติและยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในความจริงและไม่ขุ่นเคือง
ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :312 }