เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 10. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
1. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลที่ควร จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
2. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
3. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
4. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องที่
เป็นประโยชน์ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
5. ท่านถูกโจทเพราะความมุ่งร้าย ไม่ใช่ถูกโจทเพราะเมตตาจิต จึงไม่
สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ 5
อย่างเหล่านี้”

เรื่องผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วย
อาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึง
เดือดร้อนด้วยอาการ 5 อย่าง คือ
1. ท่านโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่โจทโดยกาลไม่ควร จึงไม่สมควรเดือดร้อน
2. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง จึงไม่สมควรเดือดร้อน
3. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
4. ท่านโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
จึงไม่สมควรเดือดร้อน
5. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ได้มุ่งร้าย จึงไม่สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วยอาการ 5 อย่างนี้
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นก็พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วยเรื่องจริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :306 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 10. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
ผู้ถูกโจทโดยชอบธรรมต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ
เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือด
ร้อนด้วยอาการ 5 อย่าง คือ
1. ท่านถูกโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่กาลอันไม่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
2. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไม่จริง จึงสมควรเดือดร้อน
3. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่คำหยาบ จึงสมควรเดือดร้อน
4. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ไม่เป็นประโยชน์ จึงสมควร
เดือดร้อน
5. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เพราะมุ่งร้าย จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ 5 อย่างนี้”

คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ 5 อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการ
คุณสมบัติภายในตนเท่าไรแล้วจึงโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึง
มนสิการคุณสมบัติภายในตน 5 อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
1. มีความการุญ 2. มุ่งประโยชน์
3. มีความเอ็นดู 4. มุ่งออกจากอาบัติ
5. ยึดวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการคุณสมบัติภายในตน
5 อย่างเหล่านี้ก่อน แล้วจึงโจทผู้อื่น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :307 }