เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 10. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
10. โจทกจุทิตกปฏิสังยุตตกถา
ว่าด้วยเรื่องของผู้โจทก์และผู้ถูกโจท
[401] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการ 5 อย่าง คือ
1. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลที่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
2. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง จึงสมควรเดือดร้อน
3. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ จึงสมควรเดือดร้อน
4. ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
ประกอบด้วยประโยชน์ จึงสมควรเดือดร้อน
5. ท่านมีจิตมุ่งร้าย1โจท ไม่มีเมตตาจิต จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ 5 อย่าง
เหล่านี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุแม้อื่นไม่พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วย
เรื่องไม่จริง”

เรื่องผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือด
ร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึง
ความเดือดร้อนด้วยอาการ 5 อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
1 อนฺตร ใช้ในอรรถว่า จิตฺตโทสนฺตโร...ฯ ทุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (วิ.อฏฺ. 3/400/404) “โทสนฺตโร”ติ เอตฺถ
อนฺตรสทฺโท จิตฺตปริยาโย (สารตฺถ.ฏีกา 3/400/519, วิมติ.ฏีกา 2/400/340)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :305 }