เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 6. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ” ภิกษุ
(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ทั้งภิกษุอื่น
ก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห้น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะ
อาจารวิบัติ แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ)นั้นเอง
บอกภิกษุว่า “ผม มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ 14 หรือ 15 ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[397] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะทิฏฐิวิบัติด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมาย ที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
ผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” แต่ภิกษุ (ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :299 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 7. อัตตาทานอังคะ
และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ 14 หรือ 15 ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้าไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม มี 10 อย่างนี้แล
ปฐมภาณวาร จบ

7. อัตตาทานอังคะ
ว่าด้วยองค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ
[398] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้น
แล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุ
ผู้ประสงค์จะรับ(ชำระ)อธิกรณ์ ควรรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ 5 คือ
1. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ” ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :300 }