เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 6. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[393] ที่ชื่อว่า ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมด้วยอาการ
ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็น
ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้าน
สามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุอื่นก็ไม่
บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ค้านสามัคคีที่ชอบ
ธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมค้านสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ 14 หรือ 15 ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ข้าพเจ้า
งดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[394] เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอันตราย 10 อย่าง คือ
1. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ 10. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาส
อื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัย
เรื่องนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :297 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 6. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ 14 หรือ 15 ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์
ชอบธรรม
[395] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะสีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผู้
เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้
นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้
ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและ
มีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มี
ผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัย” แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ)
นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ 14 หรือ 15 ค่ำนั้น เมื่อ
บุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น
ด้วยนึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะสีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า
ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[396] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจาร
วิบัติมีอยู่ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :298 }