เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 5. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
8. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
9. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม 9 อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม 10 อย่าง คือ
1. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
2. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกมิได้ค้างอยู่
3. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขาไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
4. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขามิได้ค้างอยู่
5. ภิกษุร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
6. ไม่ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
7. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมไม่ค้างอยู่
8. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ไม่มีอยู่
9. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ไม่มีอยู่
10. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ไม่มีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม 10 อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม 10 อย่าง คือ
1. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
2. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
3. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
4. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
5. ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
6. ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
7. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมค้างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :293 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 6. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
8. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติมีอยู่
9. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติมีอยู่
10. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติมีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม 10 อย่าง

6. ธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรม
[388] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุต้องธรรมคือปาราชิก ด้วยอาการ ด้วย
ลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ต้องธรรมคือปาราชิก ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้อง
ธรรมคือปาราชิกก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมคือ
ปาราชิก” ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้องธรรมคือปาราชิก ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกภิกษุ(นั้น)
ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมชื่อปาราชิก” แต่ภิกษุ(ผู้ต้องธรรมคือปาราชิก)นั้นเองบอก
ภิกษุว่า “ผมต้องธรรมคือปาราชิก”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ 14 หรือ 15 ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ต้องธรรมคือปาราชิก ข้าพเจ้างด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[389] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในอันตราย 10 อย่าง คือ
1. พระราชาเสด็จมา 2. โจรมาปล้น
3. ไฟไหม้ 4. น้ำหลากมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :294 }