เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 3. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
โลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ
ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ 5 ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีธรรมวินัยนี้
6. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) เหมือนมหาสมุทร
มีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ 6 ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
7. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิดคือ สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
อริยมรรคมีองค์ 8 เหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลาย
ชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน
4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์
8 นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ 7 ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
8. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ
สกิทาคามิผล พระอนาคามี บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล
พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล เหมือนมหาสมุทร
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา
ติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว 100

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :284 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [9. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] 4. ปาติโมกขสวนารหะ
โยชน์บ้าง 200 โยชน์บ้าง 300 โยชน์บ้าง 400 โยชน์บ้าง 500
โยชน์บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกิทาคามิ
ผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุอรหัตตผล นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ 8 ในธรรมวินัย
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้1
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว2

4. ปาติโมกขสวนารหะ
ว่าด้วยผู้ควรฟังปาติโมกข์
เรื่องทรงให้ภิกษุสงฆ์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
[386] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ทำอุโบสถ ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
นี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่เราจะทำอุโบสถ จะยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงฟังปาติโมกข์
รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฎ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปาฎิโมกข์แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้น

เชิงอรรถ :
1 องฺ. อฏฺ00ก. (แปล) 23/20/252-256, ขุ.อุ. 25/45/260
2 ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/447/415, ขุ.อุ. 25/45/268

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :285 }