เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [8. วัตต ขันธกะ] 1. อาคันตุกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อาราม
บ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่
ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[357] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า “เราจะเข้าไปสู่อารามเดี๋ยวนี้” พึงถอด
รองเท้าเคาะแล้วถือไปอย่างระมัดระวัง ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงบนบ่า
ไม่ต้องรีบร้อนเข้าสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าสู่อารามก็พึงสังเกตว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำ
ในอาวาสทั้งหลายประชุมกันที่ไหน” พึงไปที่ที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกัน
ไม่ว่าจะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนไม้ แล้วเก็บบาตรไว้ ณ ที่สมควร เก็บจีวรไว้ ณ
ที่สมควร จองอาสนะที่เหมาะสมแล้วนั่ง ถามถึงน้ำดื่มน้ำใช้ว่า “อย่างไหนน้ำดื่ม
อย่างไหนน้ำใช้” ถ้าต้องการน้ำดื่มก็ตักมาดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ก็ตักมาล้างเท้า เมื่อ
จะล้างเท้า ควรใช้มือข้างหนึ่งรดน้ำ มืออีกข้างหนึ่งล้างเท้า ไม่พึงใช้มือข้างที่รดน้ำล้าง
เท้า ถามถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน
ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสแก่พรรษา พึงอภิวาท ถ้าเป็นพระนวกะ พึงให้
ท่านอภิวาท ถามถึงเสนาสนะว่า “ผมได้เสนาสนะแห่งไหน” ถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุ
หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ถามถึงตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ1

เชิงอรรถ :
1 ตระกูลเสกขสมมติ คือ ตระกูลที่มีศรัทธามาก ให้ทานวัตถุมากจนหมดทุนทรัพย์ เพื่อไม่ให้ตระกูลเช่นนี้
เดือดร้อนจากการถวายสิ่งของแก่ภิกษุสงฆ์ หรือเพื่อไม่ให้ภิกษุสงฆ์รบกวนตระกูลเช่นนี้ สงฆ์จึงประกาศ
สมมติ(แต่งตั้ง)ตระกูลเช่นนี้ให้เป็น “เสกขสมมติ” (ดู วิ.อ.2/562/444)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :223 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [8. วัตต ขันธกะ] 1. อาคันตุกวัตตกถา
ถามถึงวัจกุฎี ถามถึงน้ำดื่มและน้ำใช้ ถามถึงไม้เท้า ถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า
“ควรเข้าเวลาไหน ควรออกเวลาไหน” ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ก็พึงเคาะประตูรอสัก
ครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกมองดูให้ทั่ว
ถ้าวิหารรก มีเตียงวางซ้อนเตียงหรือตั่งวางซ้อนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับเบื้องบน
ถ้าสามารถ ก็พึงชำระให้สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนเครื่องลาดพื้น
ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง ฟูก หมอน ผ้ารองนั่งและผ้าปูนอน พึงขน
ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน
พนักพิง พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขน
ออกมาวาง ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :224 }