เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ได้ประพฤติมา ... แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ แสดงสิ่งที่ตถาคต บัญญัติไว้
ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา แสดงอาบัติ
มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติ
มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นความแตก
กันว่าเป็นอธรรม ... มีความเห็นธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นความแตกกันว่า
เป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่า เป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน มีความเห็น
ในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่า เป็นอธรรม มีความเห็นธรรม
นั้นว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน ไม่แน่ใจ ธรรมนั้น มีความเห็น ความแตก
กันว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจอธรรมนั้น มีความเห็นความแตกกันว่า เป็นอธรรม ไม่
แน่ใจในอธรรมนั้น ไม่แน่ใจความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความเห็นชอบ
อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไข
ไม่ได้”

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิด
ในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็น
ธรรมมีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่
อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความเห็นชอบ ไม่อำพรางความพอใจ ไม่อำพราง
ความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :219 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ไม่ต้องไป
เกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ อาบัติชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตก
กันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความเห็นชอบ ไม่อำพรางความ
พอใจ ไม่อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์อย่างนี้ ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก
ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
ตติยภาณวาร จบ
สังฆเภทขันธกะที่ 7 จบ

รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
เรื่องเจ้าศากยะผู้มีชื่อเสียงออกบวชขณะที่พระผู้มีพระภาค
ประทับที่อนุปิยนิคม เจ้าอนุรุทธศากยะผู้สุขุมาลชาติ
ไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เจ้ามหานามะผู้พี่จึงสอนวิธีไถนา
หว่านข้าว ไขน้ำเข้า ระบายน้ำออก ถอนหญ้า
เกี่ยวข้าว ขนข้าว ตั้งลอม นวดข้าว สางฟาง
ฝัดข้าวลีบ ฝัดละอองออก ขนขึ้นฉาง
เจ้าอนุรุทธะจึงตัดสินใจออกบวช เพราะทรงเห็นการงาน
ไม่มีที่จบสิ้น แม้มารดาบิดา ปู่ย่าตายายจะตายไปหมด
พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธศากยะ เจ้าอานนท์
เจ้าภคุ เจ้ากิมพิละ ถือตัวว่าเป็นศากยวงศ์
เพื่อจะตัดมานะจึงยอมให้อุบาลีบวชก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :220 }