เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน ย่อม
ประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป

นิคมคาถา
ความพร้อมเพรียงของสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว
ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน”

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
[355] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า มีอยู่หรือที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี มีอยู่ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า มีอยู่หรือที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไป
เกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี มีอยู่ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิดใน
อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
มีความเห็นอธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพราง
ความเห็น อำพรางความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :217 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นธรรมนั้นว่า
เป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพราง
ความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป
แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นอธรรมนั้น
ว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความเห็นชอบ
อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นอธรรมนั้น
ว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่าเป็นอธรรม ... มีความเห็นอธรรมนั้นว่า
เป็นธรรม ไม่แน่ใจในความแตกกัน ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น มีความเห็นความ
แตกกันว่าเป็นอธรรม ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น มีความเห็นความแตกกันว่าเป็น
ธรรม ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น ไม่แน่ใจในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง
ความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป
แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ... แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า
เป็นวินัย แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ว่า
ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ประพฤติมาว่า ตถาคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :218 }