เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
สัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้
จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
2. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 2 รูป อีกฝ่ายหนึ่ง ก็มี 2 รูป รูปที่
5 ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
3. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 2 รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี 3 รูป รูปที่ 6
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
4. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 3 รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี 3 รูป รูปที่ 7
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
5. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 3 รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี 4 รูป รูปที่ 8
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
6. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 4 รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี 4 รูป รูปที่ 9
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้จัดเป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท
7. ภิกษุ 9 รูป หรือมากกว่า 9 รูป จัดเป็นทั้งสังฆราชีและสังฆเภท
อุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย สิกขมานา
ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :213 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสกทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสิกาก็ทำลาย
สงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย
อุบาลี ปกตัตตภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสีมาย่อมทำลายสงฆ์ได้

สังฆเภท
เรื่องที่ทำให้สงฆ์แตกกัน 18 ประการ1
[352] พระอุบาลีทูลถามว่า “ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆเภท สังฆเภท’ สงฆ์
จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
1. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
2. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
3. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
4. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
5. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้
6. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้
ตรัสไว้
7. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา
8. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
9. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้
10. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
11. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
12. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
13. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

เชิงอรรถ :
1 วิ.ม. (แปล) 5/468/362-363, วิ.ป. (แปล) 8/275/210, 379/557, องฺทสก. (แปล) 24/38/89

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :214 }