เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
รูปใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดี มีพระทัยสงบ
ด้วยการกล่าวตำหนิ การตำหนิพระองค์ย่อมฟังไม่ขึ้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร
ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ เขาไม่อาจประทุษร้ายได้
เพราะมหาสมุทรน่ากลัว
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
ให้เป็นกัลยาณมิตรและคบหาท่านเหล่านั้น”

อุปาลิปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของพระอุบาลี
สังฆราชี
[351] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี(ความร้าวรานแห่งสงฆ์)’ ด้วยอาการเพียงไรจึงเป็น
สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท(ความแตกแยกแห่งสงฆ์)ก็และด้วยอาการเพียงไร จึงเป็นทั้ง
สังฆราชีและสังฆเภท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
1. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 1 รูป อีกฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 2 รูป
รูปที่ 4 ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :212 }