เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจะครอบงำลาภ
ที่เกิดขึ้นอยู่ ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น
... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น
... ความที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

พระเทวทัตถูกอสัทธรรม 3 อย่างครอบงำ
[350] 1ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม 3 อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม 3 อย่าง คือ
1. ความปรารถนาชั่ว 2. ความมีมิตรชั่ว
3. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน

นิคมคาถา
ใคร ๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ในโลก
เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่ามีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว
เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นบัณฑิต
เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว เราได้ฟังมาว่า
เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท
เบียดเบียนตถาคตนั้น จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี
มีประตู 4 ด้าน น่ากลัว
ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ
ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ขุ.อิติ. (แปล) 25/89/458-460

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :211 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
รูปใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดี มีพระทัยสงบ
ด้วยการกล่าวตำหนิ การตำหนิพระองค์ย่อมฟังไม่ขึ้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร
ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ เขาไม่อาจประทุษร้ายได้
เพราะมหาสมุทรน่ากลัว
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
ให้เป็นกัลยาณมิตรและคบหาท่านเหล่านั้น”

อุปาลิปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของพระอุบาลี
สังฆราชี
[351] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี(ความร้าวรานแห่งสงฆ์)’ ด้วยอาการเพียงไรจึงเป็น
สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท(ความแตกแยกแห่งสงฆ์)ก็และด้วยอาการเพียงไร จึงเป็นทั้ง
สังฆราชีและสังฆเภท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
1. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 1 รูป อีกฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ 2 รูป
รูปที่ 4 ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :212 }