เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ 5 ประการ
สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ 5 ประการ
ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ
5 อย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ 5 ประการเหล่านี้ ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
1. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
2. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
3. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
4. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
5. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ 5 ประการเหล่านั้น พวกเราจงสมาทาน
ประพฤติตามวัตถุ 5 ประการเหล่านี้เถิด”
บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน
พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :201 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย
จักรของพระผู้มีพระภาคเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอ
เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรจริงหรือ”
พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจการทำลายสงฆ์
เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก รูปใดทำลายสงฆ์ที่พร้อมเพรียงกัน ผู้นั้นจะประสบ
โทษนานตลอดกัป ถูกไฟไหม้ในนรกนานตลอดกัป ส่วนรูปใดทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว
ให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่า
เลยเทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก”
ต่อมาเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้า
ไปหา ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์”
ครั้นพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตฉันเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
ภัตตาหารแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้ามา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :202 }