เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
พฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็น
อย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำปกาศนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำ
ปกาศนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรม
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น
ว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระสารีบุตรแล้ว เพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่
พระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง
เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว
ของพระเทวทัต” สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้
ครั้นพระสารีบุตรได้รับแต่งตั้งแล้วจึงเข้าไปกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัตเอง”
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนริษยา ริษยาลาภสักการะของ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :184 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัต” ส่วนพวกที่มีศรัทธา มีความเลื่อมใส มีความรู้ดี ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
“เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมใน
กรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัต”

อชาตสัตตุกุมารวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอชาตศัตรูกุมาร
[339] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “พระกุมาร เมื่อก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้
มีอายุสั้น การที่พระองค์จะพึงสิ้นพระชนม์เมื่อยังเป็นพระกุมาร เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์พระชนกแล้วเป็นพระราชา อาตมาก็จะปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคแล้วเป็นพระพุทธเจ้า”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารดำริว่า “พระคุณเจ้าเทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พระคุณเจ้าเทวทัตจะต้องรู้” วันหนึ่งได้เหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวาดหวั่น
สะดุ้ง ตกพระทัย เสด็จเข้าไปในพระราชวังอย่างเร่งร้อนช่วงเวลากลางวัน
พวกมหาอมาตย์ที่เฝ้าประตูพระราชวังแลเห็นอชาตศัตรูกุมารมีอาการกลัว หวาด
หวั่น สะดุ้ง ตกพระทัยเสด็จเข้าไปในราชวังอย่างเร่งรีบช่วงเวลากลางวันจึงได้จับไว้
มหาอมาตย์เหล่านั้นตรวจพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา จึงทูลถามอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า
“พระองค์มีประสงค์จะทำอะไร พระเจ้าข้า”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก”
พวกมหาอมาตย์ทูลถามว่า “พระองค์ถูกใครยุยง”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “พระคุณเจ้าเทวทัต”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระ
เทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :185 }