เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า
สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต

วิธีทำปกาสนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[337] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงทำปกาสนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระ
เทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย
วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้น
เป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระ
เทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระ
เทวทัต ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต โดยประกาศ
ว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์
เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง
สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตแล้ว โดยประกาศว่า เมื่อ
ก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :182 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [7. สังฆเภท ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[338] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
ถ้าอย่างนั้น เธอจงทำปกาสนียกรรมเทวทัตในกรุงราชคฤห์เถิด”
พระสารีบุตรกราบทูลว่า “เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวยกย่องพระเทวทัตใน
กรุงราชคฤห์ว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก’ ข้าพระพุทธเจ้าจะ
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวยกย่องเทวทัตตามความเป็นจริง
มิใช่หรือว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอก็จงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่เทวทัต ตามความเป็นจริงอย่างนั้นเหมือนกัน” ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนอง
พระพุทธดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงแต่งตั้งสารีบุตรเพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศ
ว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของ พระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระ
สงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต’

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้น พึงขอร้องพระสารีบุตร ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งท่านพระสารีบุตร
เพื่อทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ โดยประกาศว่า “เมื่อก่อน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :183 }