เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
อัปปมัตตกวิสสัชชกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย
[328] สมัยนั้น สงฆ์ได้บริขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรือนคลังเหลือเฟือ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
5 อย่างเป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ
1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ 2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง 4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
5. รู้จักของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แจกและของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ
น้อย ๆ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องของเล็กน้อยที่ควรแจก
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ พึงให้เข็ม 1 เล่ม พึงให้มีด พึงให้รองเท้า พึง
ให้ประคดเอว พึงให้สายโยกบาตร พึงให้ผ้ากรองน้ำ พึงให้ที่กรองน้ำ พึงให้ผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :157 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
กุสิ1 พึงให้ผ้าอัฑฒกุสิ2 พึงให้ผ้ามณฑล3 พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล4 พึงให้ผ้าอนุวาต5
พึงให้ผ้าปริภัณฑ์ ถ้าสงฆ์มีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งหรือน้ำอ้อยก็ควรให้ลิ้มได้คราวหนึ่ง
ถ้าต้องการอีกก็ควรให้อีก

สาฏิยัคคาหาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกผ้าเป็นต้น
สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร ฯลฯ
ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้ใช้สามเณร สามเณรทั้งหลายที่ภิกษุไม่ใช้ ย่อม
ไม่ทำงาน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
5 อย่างเป็นผู้ใช้สามเณร คือ
1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ 2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง 4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
5. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้
ใช้สามเณร นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
1 กุสิ คือ ผ้ายาวที่ตั้งติดขอบจีวรทั้ง 2 ด้าน คั่นระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร
2 อัฑฒกุสิ คือ ผ้าสั้นที่แทรกอยู่เป็นตอน ๆ ในระหว่างผ้ายาว ดุจคันนาขวาง
3 มณฑล คือ ผ้ามีบริเวณกว้างใหญ่ในแต่ละขัณฑ์ของจีวร 5 ขัณฑ์
4 อัฑฒมณฑล คือ ผ้าชิ้นส่วนของจีวรที่มีบริเวณเล็ก ๆ
5 อนุวาต คือ ผ้าขอบจีวร (คำอธิบายศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด ดู วิ.อ.3/345/217)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :158 }