เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ 2)
สมัยนั้น ผ้าราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”

เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดเท้า
สมัยนั้น หนังหมีเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น เครื่องเช็ดเท้าทรงกลมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น ผ้าท่อนน้อยเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า”

เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปื้อนเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ล้างเท้าไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :152 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเท้าเปียกไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม พื้นผิวเสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระโถน”

เรื่องทรงอนุญาตผ้าพันเท้าเตียงและตั่ง
สมัยนั้น เท้าเตียงและตั่งครูดพื้นที่ทำบริกรรม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน”
สมัยนั้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม1 ความงดงามเสียไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ทำบริกรรม รูปใดพิง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักพิง”

เชิงอรรถ :
1 ฝาที่ทำบริกรรม หมายถึงฝาสีขาว หรือฝาที่มีลวดลายจิตรกรรม (วิ.อ. 3/324/356)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :153 }