เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
ฯลฯ มรณภาพ ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่น
ด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไป เมื่อทำเสร็จแล้ว
นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อทำเสร็จแล้ว ฯลฯ
มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ผู้บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญาเป็น
ผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นคน
ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก
สงฆ์เป็นเจ้าของ

อัญญตรปริโภคปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยการห้ามใช้เสนาสนะผิดที่เป็นต้น
[324] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหารของ
อุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงนำเครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่งไปใช้สอยในที่แห่งหนึ่งเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :150 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำ
ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดนำไปใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”1

เรื่องทรงอนุญาตให้ยืมเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง
ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว”1

เรื่องทรงอนุญาตให้เก็บรักษาเสนาสนะ
สมัยนั้น วิหารหลังใหญ่ของสงฆ์เกิดชำรุด ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่นำ
เสนาสนะออกไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเก็บรักษาไว้”

เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ 1)
สมัยนั้น ผ้ากัมพลราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”2

เชิงอรรถ :
1 วิ.มหา. (แปล) 1/157/130
2 ผาติกรรม หมายถึงการทำให้เพิ่มพูนโดยนำไปแลกเปลี่ยนกับเตียงตั่งเป็นต้นที่มีราคาเท่ากันหรือมีราคา
มากกว่า ไม่ให้ต่ำว่าราคาของเดิม (วิ.อ. 3/324/355, วิมติ.ฏีกา 2/324/323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :151 }