เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน ... ไม่พึงให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดตั้งประตู
... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยู ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติด
ตั้งกรอบเช็ดหน้า ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาว ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงทาสีดำ ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลือง ... ไม่พึงให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกหลังคา ... ไม่
พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดให้หลบหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถู ... ไม่พึงให้
นวกรรม 20 ปี ... ไม่พึงให้นวกรรม 30 ปี ... ไม่พึงให้นวกรรมตลอดชีวิต ... ไม่พึง
ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟ รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง หรือที่สร้าง
ค้างไว้ ให้ตรวจดูวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม 5-6 ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนมุงแถบ
เดียวแล้ว ให้นวกรรม 7-8 ปี ให้ตรวจดูงานในวิหารใหญ่หรือปราสาทแล้วให้
นวกรรม 10-12 ปี”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมใน 2 แห่งแก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :147 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหาร 2 แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วมอบให้
ผู้อื่น รูปใดรับนวกรรมแล้วมอบให้ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
เสนาสนะของสงฆ์ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือ
เอาที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอก
สีมา รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันอยู่ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
ตลอด เวลา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กันไว้ชั่ว
3 เดือน ฤดูฝน แต่ไม่ให้กีดกันไว้ตลอดฤดูกาล”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วหลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง
ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติม-
วัตถุบ้าง1 ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้

เชิงอรรถ :
1 อันติมวัตถุ หมายถึง อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :148 }