เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
2. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ 2 สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
3. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ 3 สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
4. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ 4 สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
5. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ 5 สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่ง แล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง 5 หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่
พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

นวกัมมทานกถา
ว่าด้วยวิธีการที่ภิกษุให้นวกรรม
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม
[323] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กีฏาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ในเมืองอาฬวีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :145 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมอย่างนี้ คือ ให้นวกรรม1
ด้วยอาการเพียงวางก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม
20 ปีบ้าง ให้นวกรรม 30 ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหาร
ที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงมอบนวกรรมให้อย่างนี้ คือ ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวาง
ก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูให้บ้าง ให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง ให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม 20
ปีบ้าง ให้นวกรรม 30 ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหารที่สร้าง
เสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
1 ให้นวกรรม หมายถึงให้นวกรรมสมมติ (วิมติ.ฏีกา 2/323/321) คืออนุมัติการก่อสร้าง หรืออนุญาต
ให้ก่อสร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :146 }