เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ 2 รูป ตั่งละ
2 รูป”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มีอาสนะ
ต่างระดับกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วม
กับภิกษุที่มีอาสนะต่างระดับกันได้ ยกเว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อาสนะยาวที่สุดกำหนดไว้เท่าไร ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดนั่งได้ 3 รูป”
สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมาตาประสงค์จะให้สร้างปราสาทมีระเบียงและมีหลังคา
ดังเทริดตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายสงฆ์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือยังไม่ได้ทรงอนุญาต”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สอยปราสาททุกอย่าง”
สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะการทิวงคตนั้น
เครื่องอกัปปิยภัณฑ์จำนวนมากจึงเกิดขึ้นแก่สงฆ์ คือ

1. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด 2. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย
3. พรมขนสัตว์ 4. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร
5. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว 6. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้
7. เครื่องลาดยัดนุ่น 8. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ
9. เครื่องลาดขนแกะมีขน 2 ด้าน 10. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว
10. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ 12. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :140 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร

13. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ 14. เครื่องลาดบนหลังช้าง
ที่นางฟ้อน 16 คนร่ายรำ
15. เครื่องลาดบนหลังม้า 16. เครื่องลาดในรถ
17. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ 18. เครื่องลาดหนังชะมด
19. เครื่องลาดมีเพดาน 20. เครื่องลาดมีหมอน 2 ข้าง

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้ว
ใช้สอยได้ ให้ทำลายรูปสัตว์ร้ายเตียงใหญ่แล้วใช้สอยได้ ให้รื้อฟูกที่ยัดนุ่นทำเป็นหมอน
แล้วใช้สอยได้ นอกจากนี้ให้ทำเป็นเครื่องลาดพื้น”

อวิสสัชชิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงสละ
[321] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ห่าง
จากกรุงสาวัตถี จัดแจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง
ได้รับความลำบาก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เวลานี้พวกเราจัด
แจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทางได้รับความลำบาก
ท่านทั้งหลาย เอาเถอะ พวกเราจะมอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด แก่ภิกษุรูปหนึ่ง
จะใช้สอยเสนาสนะของเธอ” ภิกษุเหล่านั้นได้ให้เสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูป
หนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดจัดเสนาสนะให้พวกกระผมเถิด”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “เสนาสนะของสงฆ์ไม่มีหรอกท่าน
เสนาสนะทั้งหมด พวกเรามอบให้ภิกษุรูปหนึ่งไปแล้ว”
ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถามว่า “พวกท่านมอบเสนาสนะของสงฆ์ให้ภิกษุรูป
หนึ่งไปแล้วหรือ”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :141 }