เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบน
อาสนะเสมอกันหรือสูงกว่า(ภิกษุผู้เรียนที่เป็นเถระ)ได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุ
ผู้เถระผู้เรียนนั่งบนอาสนะเสมอกันหรือต่ำกว่า(พระผู้สอนที่เป็นนวกะ)ได้ ด้วยความ
เคารพธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากยืนรอคอยจะเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี
จนเมื่อยล้า
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะ1ระดับ
เดียวกันนั่งรวมกันได้”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ที่ชื่อว่าภิกษุมีอาสนะระดับเดียวกัน
ด้วยคุณสมบัติเท่าไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า
กันอ่อนกว่ากันระหว่าง 3 พรรษานั่งรวมกันได้”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปมีอาสนะระดับเดียวกันนั่งบนเตียงเดียวกัน ทำให้
เตียงหัก นั่งบนตั่งเดียวกัน ทำให้ตั่งหัก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ 3 รูป ตั่งละ 3
รูป”
แม้ภิกษุ 3 รูปนั่งบนเตียงก็ทำให้เตียงหัก นั่งบนตั่งก็ทำให้ตั่งหัก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
1 อาสนะ ในที่นี้ มีความหมายใช้แทน พรรษา (ดู วิ.อ. 3/320/342)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :139 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ 2 รูป ตั่งละ
2 รูป”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มีอาสนะ
ต่างระดับกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วม
กับภิกษุที่มีอาสนะต่างระดับกันได้ ยกเว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อาสนะยาวที่สุดกำหนดไว้เท่าไร ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดนั่งได้ 3 รูป”
สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมาตาประสงค์จะให้สร้างปราสาทมีระเบียงและมีหลังคา
ดังเทริดตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายสงฆ์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือยังไม่ได้ทรงอนุญาต”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สอยปราสาททุกอย่าง”
สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะการทิวงคตนั้น
เครื่องอกัปปิยภัณฑ์จำนวนมากจึงเกิดขึ้นแก่สงฆ์ คือ

1. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด 2. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย
3. พรมขนสัตว์ 4. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร
5. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว 6. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้
7. เครื่องลาดยัดนุ่น 8. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ
9. เครื่องลาดขนแกะมีขน 2 ด้าน 10. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว
10. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ 12. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :140 }