เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุทั้งหลายก่อน
ครั้นนับภิกษุทั้งหลายแล้วจึงนับที่นอน แล้วจึงให้ถือตามจำนวนที่นอน”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก ฯลฯพระ
ผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนวิหาร”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือมาก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลือมาก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เพิ่มให้อีก เมื่อภิกษุรับส่วน
เพิ่มไปแล้ว ภิกษุอื่นมา เมื่อไม่ปรารถนา(จะให้)ก็ไม่ต้องให้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุที่อยู่นอกสีมาถือ
เสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงไว้ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือเสนาสนะแล้วหวงไว้
ตลอดเวลา รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงไว้ได้
ตลอด 3 เดือนฤดูฝน แต่จะหวงไว้ตลอดฤดูไม่ได้”

เรื่องให้ถือเสนาสนะ 3 อย่าง
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง” ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี 3 อย่าง คือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :136 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 3. ตติยภาณวาร
1. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น 2. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง
3. ให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น
เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น พึงให้ถือในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง พึงให้ถือในเมื่อเดือน 8 ล่วงไป 1 เดือน
(เดือน 9) เสนาสนะที่จะให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น พึงให้ถือในวันถัดจากวัน
ปวารณา คือ วันแรม 1 ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือ
เสนาสนะมี 3 อย่างนี้”
ทุติยภาณวาร จบ

3. ตติยภาณวาร
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ
[319] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถือเสนาสนะในกรุงสาวัตถี แล้ว
เดินทางไปอาวาสใกล้หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้ถือเสนาสนะในที่นั้นอีก
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านอุปนันทศากยบุตรนี้เป็นผู้
ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ถ้าท่านอุปนันทศากยบุตรจะจำพรรษาในอาวาสนี้ พวกเราทั้งหมดจะอยู่
ไม่ผาสุก อย่ากระนั้นเลย พวกเราจะถามท่านอุปนันทศากยบุตร” ลำดับนั้น ภิกษุ
เหล่านั้นจึงถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านถือเสนาสนะ
ในกรุงสาวัตถีแล้วมิใช่หรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านรูปเดียว เหตุใดจึงหวงเสนาสนะไว้ถึง 2 แห่งเล่า”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า “กระผมจะสละเสนาสนะที่นี่ไปเดี๋ยวนี้แล้ว
จะถือเสนาสนะในกรุงสาวัตถีนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :137 }