เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น คนทั้งหลายทำนวกรรมอย่างกระตือรือร้น อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายผู้
ดำเนินงานก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารโดย
เคารพ
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า “การทำนวกรรมนี้ไม่ใช่
ของต่ำต้อย เพราะคนทั้งหลายช่วยกันทำนวกรรม ทางที่ดีเราพึงช่วยทำนวกรรมบ้าง”
ลำดับนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นจึงขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ก่อ
ด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นก็ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่
ก่อด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรอบรมสั่งสอนแต่พวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร อำนวยการทำนวกรรมแก่คนพวกนั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจไม่มี
ใครอบรมสั่งสอน ไม่มีคนอำนวยการทำนวกรรมให้”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมได้ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนักทำนวกรรมต้องขวนขวายว่า ‘ทำอย่างไรหนอวิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว’ ต้อง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม

วิธีให้นวกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้นวกรรมอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขออนุญาตภิกษุก่อน ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :120 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
[309] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วสงฆ์พึงใหนวกรรม
วิหาร1ของคหบดี แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่
ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่ภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นวกรรมวิหารของคหบดี สงฆ์ให้แก่ชื่อภิกษุนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

อัคคาสนาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตอาสนะเลิศเป็นต้น
เรื่องความเคารพ
[310] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปยังกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับจองวิหาร จับจองที่นอน
โดยกล่าวว่า “ที่นี้เป็นของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระ
อาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพวกเรา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อ
วิหารถูกจับจองแล้ว เมื่อที่นอนถูกจับจองแล้ว เมื่อไม่ได้ที่นอน จึงนั่ง ณ ควงไม้
ต้นหนึ่ง
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตร
ก็ได้กระแอมรับ

เชิงอรรถ :
1 นวกรรมวิหาร คือให้วิหารเพื่อก่อสร้าง หรือให้การก่อสร้างในวิหาร (วิมติ.ฏีกา 2/309/312)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :121 }