เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น คนทั้งหลายทำนวกรรมอย่างกระตือรือร้น อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายผู้
ดำเนินงานก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารโดย
เคารพ
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า “การทำนวกรรมนี้ไม่ใช่
ของต่ำต้อย เพราะคนทั้งหลายช่วยกันทำนวกรรม ทางที่ดีเราพึงช่วยทำนวกรรมบ้าง”
ลำดับนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นจึงขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ก่อ
ด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นก็ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่
ก่อด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรอบรมสั่งสอนแต่พวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร อำนวยการทำนวกรรมแก่คนพวกนั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจไม่มี
ใครอบรมสั่งสอน ไม่มีคนอำนวยการทำนวกรรมให้”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมได้ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนักทำนวกรรมต้องขวนขวายว่า ‘ทำอย่างไรหนอวิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว’ ต้อง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม

วิธีให้นวกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้นวกรรมอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขออนุญาตภิกษุก่อน ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :120 }