เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “การกระทำนี้ไม่ใช่ของต่ำต้อย
เพราะคหบดีนี้บริจาคเงินมากมายถึงเพียงนี้” ลำดับนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้รับสั่งกับ
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “พอเถอะ ท่านคหบดี ที่ว่างตรงนั้น ท่านอย่าลาด
เงินเลย ให้โอกาสแก่เราบ้าง ส่วนนี้ข้าพเจ้าจะขอร่วมถวายด้วย”
ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดำริว่า “เจ้าเชตราชกุมารพระองค์นี้ ทรงเรือง
พระนาม ประชาชนรู้จัก ความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ของผู้ที่ประชาชนรู้จัก
เช่นนี้ มีประโยชน์มาก” จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร ลำดับนั้น เจ้าเชต
ราชกุมาร รับสั่งให้สร้างซุ้มประตูที่ตรงนั้น
ต่อมา ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีให้สร้างวิหารหลายหลังไว้ในพระเชตวัน สร้าง
บริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี1 สร้างวัจกุฎี
สร้างสถานที่จงกรม สร้างศาลาจงกรม ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ
สร้างศาลาเรือนไฟ ขุดสระโบกขรณี สร้างมณฑป

นวกัมมทานะ
ว่าด้วยให้นวกรรม(การก่อสร้าง)
เรื่องช่างชุนผ้า
[308] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น

เชิงอรรถ :
1 กัปปิยกุฎี คือสถานที่เก็บอาหาร (ดู วิ.ม. (แปล) 5/295/120) พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเพื่อให้
ภิกษุสงฆ์พ้นจากการเก็บของไว้เองและหุงต้มเอง (วิ.อ. 3/295/183)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :119 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น คนทั้งหลายทำนวกรรมอย่างกระตือรือร้น อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายผู้
ดำเนินงานก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารโดย
เคารพ
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า “การทำนวกรรมนี้ไม่ใช่
ของต่ำต้อย เพราะคนทั้งหลายช่วยกันทำนวกรรม ทางที่ดีเราพึงช่วยทำนวกรรมบ้าง”
ลำดับนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นจึงขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ก่อ
ด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นก็ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่
ก่อด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรอบรมสั่งสอนแต่พวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร อำนวยการทำนวกรรมแก่คนพวกนั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจไม่มี
ใครอบรมสั่งสอน ไม่มีคนอำนวยการทำนวกรรมให้”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมได้ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนักทำนวกรรมต้องขวนขวายว่า ‘ทำอย่างไรหนอวิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว’ ต้อง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม

วิธีให้นวกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้นวกรรมอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขออนุญาตภิกษุก่อน ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :120 }