เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
เกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน
กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียงอึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวก มนุษย์จะทำ
กิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การหลีกเร้น”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร เป็นสถานที่
ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะ
เข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียง
อึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การ
หลีกเร้น ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเจ้าเชต
ราชกุมารดังนี้ว่า “พระลูกเจ้า ขอพระองค์ ทรงโปรดประทานพระอุทยานแก่กระหม่อม
เพื่อจัดสร้างพระอารามเถิด พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี ถึงใช้กหาปณะมาเรียงให้ริมจดกัน เราก็ให้
อุทยานไม่ได้”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลถามว่า “พระลูกเจ้า พระองค์ขายอุทยานแล้วหรือ
พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี เรายังไม่ได้ขายอุทยาน”1
เชตราชกุมารกับอนาถบิณฑิกคหบดีถามพวกมหาอมาตย์ผู้พิพากษาว่า “อุทยาน
เป็นอันขายแล้ว หรือยังไม่ได้ขาย”
พวกมหาอมาตย์ตอบว่า “พระลูกเจ้า เพราะพระองค์ตีราคาแล้ว อุทยานจึง
เป็นอันขายแล้ว”
จากนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้คนงานนำเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียง
ลาดให้ริมจดกันในเชตวัน เงินที่ขนออกมาครั้งเดียวยังไม่เพียงพอแก่พื้นที่อีกหน่อย
หนึ่งใกล้ซุ้มประตู ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงสั่งพวกคนงานว่า “พวกท่านจงไปขน
เงินมา เราจะเรียงให้เต็มในที่นี้”

เชิงอรรถ :
1 คหิโต อยฺยปุตฺต อาราโมติ. น คหปติ คหิโต อาราโมติ. แปลตามตัวอักษรว่า “พระลูกเจ้า ข้าพเจ้ารับ
สวนไปได้หรือ” คหบดี ท่านยังรับสวนไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :118 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “การกระทำนี้ไม่ใช่ของต่ำต้อย
เพราะคหบดีนี้บริจาคเงินมากมายถึงเพียงนี้” ลำดับนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้รับสั่งกับ
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “พอเถอะ ท่านคหบดี ที่ว่างตรงนั้น ท่านอย่าลาด
เงินเลย ให้โอกาสแก่เราบ้าง ส่วนนี้ข้าพเจ้าจะขอร่วมถวายด้วย”
ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดำริว่า “เจ้าเชตราชกุมารพระองค์นี้ ทรงเรือง
พระนาม ประชาชนรู้จัก ความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ของผู้ที่ประชาชนรู้จัก
เช่นนี้ มีประโยชน์มาก” จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร ลำดับนั้น เจ้าเชต
ราชกุมาร รับสั่งให้สร้างซุ้มประตูที่ตรงนั้น
ต่อมา ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีให้สร้างวิหารหลายหลังไว้ในพระเชตวัน สร้าง
บริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี1 สร้างวัจกุฎี
สร้างสถานที่จงกรม สร้างศาลาจงกรม ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ
สร้างศาลาเรือนไฟ ขุดสระโบกขรณี สร้างมณฑป

นวกัมมทานะ
ว่าด้วยให้นวกรรม(การก่อสร้าง)
เรื่องช่างชุนผ้า
[308] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น

เชิงอรรถ :
1 กัปปิยกุฎี คือสถานที่เก็บอาหาร (ดู วิ.ม. (แปล) 5/295/120) พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเพื่อให้
ภิกษุสงฆ์พ้นจากการเก็บของไว้เองและหุงต้มเอง (วิ.อ. 3/295/183)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :119 }