เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง จนกระทั่งพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อม
กับภิกษุสงฆ์จงทรงรับนิมนต์ไปอยู่จำพรรษา ณ กรุงสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้าเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในสุญญาคาร”1
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ทราบแล้วพระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป

อนาถบิณฑิกะสร้างพระเชตวัน
[307] สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรมาก มีสหายมาก
ประชาชนเชื่อถือคำพูด ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทำธุระในกรุงราชคฤห์เสร็จแล้ว
ก็เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางได้ชักชวนคนทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
จงช่วยกันสร้างอาราม สร้างวิหาร เตรียมทาน เวลานี้พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลกแล้วและข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว พระองค์จะเสด็จ
มาทางนี้”
ครั้งนั้น คนทั้งหลายที่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ได้พากันสร้างอาราม
สร้างวิหารเตรียมทาน
ครั้นท่านอนาถบิณฑิคหบดีถึงกรุงสาวัตถี เที่ยวตรวจดูรอบ ๆ กรุงสาวัตถีคิด
ว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนดีซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
1 สุญญาคาร คือ สถานที่ว่าง โอกาสที่เงียบสงัด สถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
(วิ.อ. 1/165/444)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :117 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
เกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน
กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียงอึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวก มนุษย์จะทำ
กิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การหลีกเร้น”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร เป็นสถานที่
ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะ
เข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียง
อึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การ
หลีกเร้น ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเจ้าเชต
ราชกุมารดังนี้ว่า “พระลูกเจ้า ขอพระองค์ ทรงโปรดประทานพระอุทยานแก่กระหม่อม
เพื่อจัดสร้างพระอารามเถิด พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี ถึงใช้กหาปณะมาเรียงให้ริมจดกัน เราก็ให้
อุทยานไม่ได้”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลถามว่า “พระลูกเจ้า พระองค์ขายอุทยานแล้วหรือ
พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี เรายังไม่ได้ขายอุทยาน”1
เชตราชกุมารกับอนาถบิณฑิกคหบดีถามพวกมหาอมาตย์ผู้พิพากษาว่า “อุทยาน
เป็นอันขายแล้ว หรือยังไม่ได้ขาย”
พวกมหาอมาตย์ตอบว่า “พระลูกเจ้า เพราะพระองค์ตีราคาแล้ว อุทยานจึง
เป็นอันขายแล้ว”
จากนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้คนงานนำเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียง
ลาดให้ริมจดกันในเชตวัน เงินที่ขนออกมาครั้งเดียวยังไม่เพียงพอแก่พื้นที่อีกหน่อย
หนึ่งใกล้ซุ้มประตู ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงสั่งพวกคนงานว่า “พวกท่านจงไปขน
เงินมา เราจะเรียงให้เต็มในที่นี้”

เชิงอรรถ :
1 คหิโต อยฺยปุตฺต อาราโมติ. น คหปติ คหิโต อาราโมติ. แปลตามตัวอักษรว่า “พระลูกเจ้า ข้าพเจ้ารับ
สวนไปได้หรือ” คหบดี ท่านยังรับสวนไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :118 }