เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย คหบดี ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย
เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว”
ชาวนิคมในกรุงราชคฤห์ ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนิมนต์พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น ชาวนิคมในกรุง
ราชคฤห์จึงได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่า ท่านนิมนต์
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ
ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวายพระสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย พ่อเจ้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย
เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี
ทราบว่า ท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้
ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวาย
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลตอบว่า “อย่าเลย พระเจ้าข้า ทรัพย์ที่จะจับจ่าย
ใช้สอย เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพระองค์
มีพร้อมแล้ว”
ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉัน
อันประณีตในนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึง
เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพร้อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :116 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง จนกระทั่งพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อม
กับภิกษุสงฆ์จงทรงรับนิมนต์ไปอยู่จำพรรษา ณ กรุงสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้าเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในสุญญาคาร”1
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ทราบแล้วพระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป

อนาถบิณฑิกะสร้างพระเชตวัน
[307] สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรมาก มีสหายมาก
ประชาชนเชื่อถือคำพูด ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทำธุระในกรุงราชคฤห์เสร็จแล้ว
ก็เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางได้ชักชวนคนทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
จงช่วยกันสร้างอาราม สร้างวิหาร เตรียมทาน เวลานี้พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลกแล้วและข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว พระองค์จะเสด็จ
มาทางนี้”
ครั้งนั้น คนทั้งหลายที่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ได้พากันสร้างอาราม
สร้างวิหารเตรียมทาน
ครั้นท่านอนาถบิณฑิคหบดีถึงกรุงสาวัตถี เที่ยวตรวจดูรอบ ๆ กรุงสาวัตถีคิด
ว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนดีซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
1 สุญญาคาร คือ สถานที่ว่าง โอกาสที่เงียบสงัด สถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
(วิ.อ. 1/165/444)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :117 }