เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
“ช้าง 1 แสนเชือก ม้า 1 แสนตัว
รถม้าอัสดร 1 แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร 1 แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 161 แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
ทันใดนั้นความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 แสงสว่างพลันหายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการ
จะกลับจากที่นั้น
แม้ครั้งที่ 3 สีวกยักษ์ก็หายตัวอยู่แต่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า
“ช้าง 1 แสนเชือก ม้า 1 แสนตัว
รถม้าอัสดร 1 แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร 1 แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
แม้ครั้งที่ 3 ความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
ลำดับนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังป่าสีตวัน เช้ามืดวันนั้น พระผู้มี
พระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมที่กลางแจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิก

เชิงอรรถ :
1 เสี้ยวที่ 16 ในที่นี้หมายความว่า เมื่อแบ่งเป็น 16 ส่วนแล้วเอาส่วนหนึ่งใน 16 ส่วนนั้นมาแบ่งเป็นอีก
16 ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งที่แบ่งเป็น 16 ส่วนครั้งที่ 2 นั้นมาแบ่งเป็น 16 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง ส่วน 1
ใน 16 ส่วนที่แบ่งครั้งที่ 3 นี้จัดเป็นเสี้ยวที่ 16 สัตว์สิ่งของอย่างละ 1 แสน ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16
แห่งการก้าวเท้าไปก้าวหนึ่งที่แบ่งแล้ว 16 ครั้ง 16 เที่ยว 16 หน เพราะ ท่านอนาถบิณฑิกะก้าวเท้า
ไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะสำเร็จโสดาปัตติผล จักเอาของหอมพวงมาลากระทำการบูชา จักไหว้พระเจดีย์
จักฟังธรรม จักนิมนต์พระสงฆ์แล้วถวายทาน จักตั้งมั่นในสรณะและศีล(ตาม แนวคำอธิบายแห่ง สํ.ส.อ.
1/242/298, สารตฺถ.ฏีกา 3/305/474-475)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :113 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
คหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้น
แล้วได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิดสุทัตตะ”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีรื่นเริงบันเทิงใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา”
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคประทับอยู่เป็นสุขดีหรือ พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม เป็นคนเยือกเย็น
ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องได้ทุกอย่างแล้ว
กำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข1
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
1. ทานกถา (เรื่องทาน)
2. สีลกถา (เรื่องศีล)
3. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
4. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
5. เนกขัมมานิสังสกถา (อานิสงส์แห่งการออกจากกาม) แก่อนาถ-
บิณฑิกคหบดี
เมื่อทรงทราบว่าท่านอนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์
เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา2ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 องฺ.ติก. (แปล) 20/35/191
2 สามุกกังสิกธรรมเทศนา หมายถึงธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็น
ด้วยสยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือมิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ทรงตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครใน
โลก (วิ.อ. 3/293/181, สารตฺถ,ฏีกา 3/26/237, ที.สี.ฏีกา อภินว. 2/298/350)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :114 }