เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีงานอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล
ทั้งไม่ได้ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหาร
ในวันพรุ่งนี้ ที่จริงข้าพเจ้าจะประกอบมหายัญพิธี คือ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำอีกว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ก็คงตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “แม้เสียงประกาศว่า ‘พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า’
นี้ก็ยากที่จะได้ยินในโลก ท่านคหบดี ข้าพเจ้าสามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี เวลานี้ยังไม่ควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พรุ่งนี้ท่านจะได้เข้าเฝ้า”
หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “พรุ่ง
นี้เราจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแต่เช้าตรู่”
เล่ากันว่า คหบดีตื่นกลางดึกถึง 3 ครั้งเพราะเข้าใจว่าสว่างแล้ว
[305] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์
เปิดประตูให้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินออกจากเมืองไปแล้ว แสงสว่างพลัน
หายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยอง
เกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการจะกลับจากที่นั้น
ขณะนั้น สีวกยักษ์หายตัวอยู่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :112 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
“ช้าง 1 แสนเชือก ม้า 1 แสนตัว
รถม้าอัสดร 1 แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร 1 แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 161 แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
ทันใดนั้นความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 แสงสว่างพลันหายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการ
จะกลับจากที่นั้น
แม้ครั้งที่ 3 สีวกยักษ์ก็หายตัวอยู่แต่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า
“ช้าง 1 แสนเชือก ม้า 1 แสนตัว
รถม้าอัสดร 1 แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร 1 แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
แม้ครั้งที่ 3 ความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
ลำดับนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังป่าสีตวัน เช้ามืดวันนั้น พระผู้มี
พระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมที่กลางแจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิก

เชิงอรรถ :
1 เสี้ยวที่ 16 ในที่นี้หมายความว่า เมื่อแบ่งเป็น 16 ส่วนแล้วเอาส่วนหนึ่งใน 16 ส่วนนั้นมาแบ่งเป็นอีก
16 ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งที่แบ่งเป็น 16 ส่วนครั้งที่ 2 นั้นมาแบ่งเป็น 16 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง ส่วน 1
ใน 16 ส่วนที่แบ่งครั้งที่ 3 นี้จัดเป็นเสี้ยวที่ 16 สัตว์สิ่งของอย่างละ 1 แสน ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16
แห่งการก้าวเท้าไปก้าวหนึ่งที่แบ่งแล้ว 16 ครั้ง 16 เที่ยว 16 หน เพราะ ท่านอนาถบิณฑิกะก้าวเท้า
ไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะสำเร็จโสดาปัตติผล จักเอาของหอมพวงมาลากระทำการบูชา จักไหว้พระเจดีย์
จักฟังธรรม จักนิมนต์พระสงฆ์แล้วถวายทาน จักตั้งมั่นในสรณะและศีล(ตาม แนวคำอธิบายแห่ง สํ.ส.อ.
1/242/298, สารตฺถ.ฏีกา 3/305/474-475)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :113 }