เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
2. ทุติยภาณวาร
อนาถปิณฑิกวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอนาถบิณฑิกคหบดี
[304] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศล
ในวันพรุ่งนี้ สั่งทาสและกรรมกรว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงตื่นแต่
เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม”
ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “คราวก่อนเมื่อเรามา คหบดี
ท่านนี้ทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว เวลานี้เขามีท่าทีวุ่นวายสั่งทาส
และกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัด
เตรียมแกงอ่อม’ คหบดีนี้น่าจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี หรือ
จะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารในวัน
พรุ่งนี้กระมัง”
ครั้นเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณฑิกคหบดี
ถึงที่ ครั้นถึงแล้วได้สนทนากับอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
อนาถบิณฑิกคหบดีได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “เมื่อข้าพเจ้ามา
คราวก่อน ท่านทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับข้าพเจ้าผู้เดียว เวลานี้ท่านมีท่าที
วุ่นวาย สั่งทาสและกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง
ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม’ ท่านคงจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี
หรือจะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารใน
วันพรุ่งนี้กระมัง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :111 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [6. เสนาสน ขันธกะ] 2. ทุติยภาณวาร
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีงานอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล
ทั้งไม่ได้ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหาร
ในวันพรุ่งนี้ ที่จริงข้าพเจ้าจะประกอบมหายัญพิธี คือ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำอีกว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ก็คงตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “แม้เสียงประกาศว่า ‘พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า’
นี้ก็ยากที่จะได้ยินในโลก ท่านคหบดี ข้าพเจ้าสามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี เวลานี้ยังไม่ควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พรุ่งนี้ท่านจะได้เข้าเฝ้า”
หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “พรุ่ง
นี้เราจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแต่เช้าตรู่”
เล่ากันว่า คหบดีตื่นกลางดึกถึง 3 ครั้งเพราะเข้าใจว่าสว่างแล้ว
[305] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์
เปิดประตูให้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินออกจากเมืองไปแล้ว แสงสว่างพลัน
หายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยอง
เกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการจะกลับจากที่นั้น
ขณะนั้น สีวกยักษ์หายตัวอยู่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :112 }