เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
คำของสงฆ์” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม
ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงให้ภิกษุสุธรรม ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้นั่ง
กระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วให้แสดงอาบัตินั้นไม่เลยเขตที่จิตตคหบดีจะมองเห็น
จะได้ยิน
ต่อมา ท่านภิกษุสุธรรมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับพระอนุทูตแล้วขอ
ขมาจิตตคหบดี ท่านกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาภิกษุ
ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ “กระผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์พึงระงับปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุสุธรรม”

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ 18 ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม

หมวดที่ 1
[43] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ 5 คือ
1. ให้อุปสมบท 2. ให้นิสัย
3. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก 4. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5
เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :81 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ 2
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5
อีกอย่างหนึ่ง คือ

1. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก 2. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
3. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น 4. ตำหนิกรรม
5. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5
เหล่านี้แล

หมวดที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8
คือ

1. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ 2. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
3. ทำการไต่สวน 4. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
5. ขอโอกาสภิกษุอื่น 6. โจทภิกษุอื่น
7. ให้ภิกษุอื่นให้การ 8. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8
เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :82 }