เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
4. ด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
5. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ 5 เหล่านี้แล (2)

หมวดที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ 5 รูป คือ
1. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแก่พวกคฤหัสถ์
2. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์
3. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์
4. รูปหนึ่งด่าปริภาษพวกคฤหัสถ์
5. รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ 5 รูปเหล่านี้
แล (3)

หมวดที่ 4
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก 5 รูป คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
3. พวกหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
4. รูปหนึ่งด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
5. รูปหนึ่งรับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ 5 รูป
เหล่านี้แล (4)
อากังขมานจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :78 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร 18 ข้อในปฏิสารณียกรรม
[40] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมพึงประพฤติชอบ การ
ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

1. ไม่พึงให้อุปสมบท 2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก 4. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึง 6. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สั่งสอนภิกษุณี ลงปฏิสารณียกรรมอีก
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน 8. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงตำหนิกรรม 10. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
11. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ 12. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
13. ไม่พึงทำการไต่สวน 14. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น 16. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ 18. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในปฏิสารณียกรรม จบ

สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
[41] ต่อมา สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรม
นั้นไปขอขมาจิตตคหบดี ภิกษุสุธรรมนั้นถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว เดินทาง
ไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ต้องเก้อเขิน ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้จึงกลับมายังกรุง
สาวัตถีอีก
ภิกษุทั้งหลายถามเธอว่า “ท่านขอขมาจิตตคหบดีแล้วหรือ”
ภิกษุสุธรรมตอบว่า “ผมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์เพราะเรื่องนี้ ต้องเก้อเขิน
ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :79 }