เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกราบทูลคำที่ท่านและ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วให้พระผู้มีพระภาคทรงรับทราบทั้งหมด การที่ท่านจะกลับมาเมือง
มัจฉิกาสณฑ์อีก ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์แต่อย่างใด”

พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[35] ต่อมา ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินทางไป
ทางกรุงสาวัตถี จนลุถึงพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะโดยลำดับ เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ตนกล่าว และ
เรื่องที่จิตตคบหดีกล่าวนั้นทั้งหมดให้ทรงทราบ

ทรงตำหนิพระสุธรรม
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนั้น ไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ จิตต
คหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ไฉนเธอ
จึงด่าด้วยคำต่ำช้า ข่มขู่ด้วยคำต่ำช้าเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
สุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมนั้นไปขอขมาจิตตคหบดี”

วิธีลงปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้น พึงโจทภิกษุ
สุธรรม ครั้นแล้วให้ภิกษุสุธรรมให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[36] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :68 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
คำต่ำช้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้
เธอไปขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น
ทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี
ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมา
จิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
จิตตคหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์
ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
คือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปฏิสาณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมา
จิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ไม่ชอบธรรม 12 หมวด

หมวดที่ 1
[37] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ 3 ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :69 }