เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสุธรรมบอกจิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วว่า “ท่านเตรียมของเคี้ยว
ของฉันไว้อย่างเพียงพอ แต่สิ่งหนึ่ง คือ ขนมแดกงา ไม่มีในที่นี้”
จิตตคหบดีกล่าวตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย แต่
พระสุธรรมกลับมาพูดว่า ขนมแดกงา ท่านผู้เจริญ เคยมีเรื่องเล่าว่า พวกพ่อค้าชาว
ทักขิณาบถ เดินทางไปค้าขายแถบตะวันออก พวกเธอนำแม่ไก่มาจากที่นั้น ต่อมา
แม่ไก่สมสู่กับพ่อกาก็ออกลูก เวลาที่ลูกไก่ตัวนั้นจะร้องอย่างกา มันก็ร้องเสียงกา
ผสมเสียงไก่ เวลาที่จะขันอย่างไก่ มันก็ขันเสียงไก่ผสมเสียงกา ฉันใด ท่านผู้เจริญ
เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย พระสุธรรมมาพูดคำว่า ขนมแดกงาก็เหมือนกัน”
ท่านพระสุธรรมกล่าวว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษอาตมา นั่นวัดของท่าน
อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา
ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน”
แม้ครั้งที่ 2 ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่า บริภาษ
อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีก็กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา
ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน”
แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษ
อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านจะไปไหน”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “คหบดี อาตมาจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่กรุงสาวัตถี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :67 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกราบทูลคำที่ท่านและ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วให้พระผู้มีพระภาคทรงรับทราบทั้งหมด การที่ท่านจะกลับมาเมือง
มัจฉิกาสณฑ์อีก ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์แต่อย่างใด”

พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[35] ต่อมา ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินทางไป
ทางกรุงสาวัตถี จนลุถึงพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะโดยลำดับ เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ตนกล่าว และ
เรื่องที่จิตตคบหดีกล่าวนั้นทั้งหมดให้ทรงทราบ

ทรงตำหนิพระสุธรรม
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนั้น ไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ จิตต
คหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ไฉนเธอ
จึงด่าด้วยคำต่ำช้า ข่มขู่ด้วยคำต่ำช้าเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
สุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมนั้นไปขอขมาจิตตคหบดี”

วิธีลงปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้น พึงโจทภิกษุ
สุธรรม ครั้นแล้วให้ภิกษุสุธรรมให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[36] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :68 }