เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ อาบัติเหล่านี้กันและกัน
บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปาน นี้ด้วยติณวัตถารกะ”

วิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้ คือ ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่
แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ
เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์”
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ฝ่าย
ของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลาม
ไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่านทั้งหลาย
พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลายและอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :366 }