เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืน
อาบัตินั้น”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้” แล้วพึงกล่าวว่า “ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย
กับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ
พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน

ติณวัตถารกะ
[240] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญญาตกรณะ
พึงระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สัมมุขาวินัย (2) ติณวัตถารกะ บางที
พึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกเราบาดหมาง
ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :365 }