เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้
ปาราชิก”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุนั้นแล

วิธีลงตัสสปาปิยสิกากรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติใน
ท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีก
เรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติใน
ท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อน
อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกากรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับตัสสปาปิยสิกา
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :362 }