เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติ(อาบัติหนัก)ใน
ท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็น
ปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า “เอาเถิด
ท่าน จงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ
อาบัติที่ใกล้ปาราชิกไซร้”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อย
เห็นปานนี้”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า “เอาเถิด
ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ
อาบัติที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ ผมไม่ถูก
ถามก็ปฏิญญา ผมต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้
ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญาหรือ”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน อนึ่ง ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยข้อนี้
ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญา ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก
หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจักปฏิญญาหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้
ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ
ที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผมพูดพล่อยไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :361 }