เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
กล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้วขออมูฬหวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้หาย
หลงแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
อมูฬหวินัยสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ผู้หายหลงแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย
กับอมูฬหวินัย
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ
ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ
ไม่คัดค้านกรรม คือ อมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน

ตัสสปาปิยสิกาวินัย
[238] บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สติวินัย
(2) อมูฬหวินัย แต่พึงระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) ตัสสปาปิยสิกา บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :360 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติ(อาบัติหนัก)ใน
ท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็น
ปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า “เอาเถิด
ท่าน จงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ
อาบัติที่ใกล้ปาราชิกไซร้”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อย
เห็นปานนี้”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า “เอาเถิด
ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ
อาบัติที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ ผมไม่ถูก
ถามก็ปฏิญญา ผมต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้
ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญาหรือ”
ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน อนึ่ง ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยข้อนี้
ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญา ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก
หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจักปฏิญญาหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้
ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ
ที่ใกล้ปาราชิก”
ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้
คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผมพูดพล่อยไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :361 }