เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน

อมูฬหวินัย
[237] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สติวินัย
(2) ตัสสปาปิยสิกา แต่พึงระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง คือ (1) สัมมุขาวินัย
(2) อมูฬหวินัย
บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ
มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทด้วย
อาบัติที่ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดแล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว
ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า “ท่าน
ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”

คำขออมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว ก็แล สงฆ์
พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ แล้วกล่าวคำขอว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควร
แก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ
ทั้งหลายโจทกระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด
แล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” กระผมผู้กล่าวกับภิกษุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :358 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
พวกนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว” ภิกษุทั้งหลาย
แม้กระผมกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่ตามเดิมว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จง
ระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่เธอผู้วิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า
“ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัย
กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นผู้หายหลงแล้ว นี่
เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่ภิกษุนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดแล้วว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” เธอกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :359 }