เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งแล้วให้เป็นผู้ให้จับสลาก สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุผู้ให้จับสลากนั้นพึงให้ภิกษุทั้งหลายจับสลาก พวกธรรมวาทีภิกษุมากกว่า
ย่อมกล่าวฉันใด พึงระงับอธิกรณ์นั้นฉันนั้น นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว
อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร
ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา
ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง
มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ
พร้อมหน้าบุคคล
อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร
ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขา
วินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร
โจทก์และจำเลยทั้งสอง เป็นคู่ต่อสู้ในคดีอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น
อนึ่ง ในเยภุยยสิกานั้นมีอะไรบ้าง
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่
คัดค้านกรรมในเยภุยยสิกาอันใด มีในเยภุยยสิกานั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :353 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 9. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน

ติวิธสลากคาหะ
ว่าด้วยการจับสลาก 3 วิธี
[235] สมัยนั้น อธิกรณ์เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ในกรุงสาวัตถี
ภิกษุเหล่านั้นไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุงสาวัตถี ได้ทราบข่าวว่า “ใน
อาวาสโน้น มีพระเถระอยู่หลายรูป เป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา ถ้าพระเถระเหล่านั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี” จึงไปสู่อาวาสนั้นแล้วเรียนกับพระเถระ
พวกนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้ว อย่างนี้ ขอโอกาสขอรับ
ขอพระเถระทั้งหลายจงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี”
พระเถระพวกนั้นช่วยระงับอธิกรณ์นั้นแล้ว เหมือนอย่างที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถี
ระงับแล้ว ตามวิธีที่ระงับด้วยดีแล้วฉะนั้น ครั้งนั้น ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่พอใจ ด้วยการ
ระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีนั้น ไม่พอใจด้วยการระงับอธิกรณ์ของพระเถระ
มากรูป ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสโน้น มีพระเถระอยู่ 3 รูป ฯลฯ มีพระเถระอยู่
2 รูป ฯลฯ มีพระเถระอยู่รูปเดียว เป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา ถ้าพระเถระนั้นพึงระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์
อย่างนี้อธิกรณ์นี้พึงระงับด้วยดี” จึงไปสู่อาวาสนั้น แล้วกราบเรียนพระเถระนั้นว่า
“ท่านขอรับ อธิกรณ์นี้เกิดแล้วอย่างนี้ อุบัติแล้วอย่างนี้ ขอโอกาสขอรับ ขอพระเถระ
จงระงับอธิกรณ์นี้ โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ตามวิถีทางที่อธิกรณ์นี้
จะพึงระงับด้วยดี”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :354 }