เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
1. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
9. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นอกุศล วิวาทกันว่า
1. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
9. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดาวิวาทาธิกรณ์นั้น วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายมีจิตเป็นอัพยากฤต วิวาทกันว่า
1. นี้ธรรม นี้อธรรม
ฯลฯ
9. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น ในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :339 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
[221] อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤตหรือ อนุวาทาธิกรณ์
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การ
ฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตาม
เพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นกุศล
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตเป็นอกุศล ย่อมโจท
ภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การ
ตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอกุศล
บรรดาอนุวาทาธิกรณ์นั้น อนุวาทาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมโจท
ภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การ
ตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์เป็นอัพยากฤต
[222] อาปัตตาธิกรณ์เป็นอกุศล หรืออัพยากฤต อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
ภิกษุรู้อยู่ เข้าใจอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิดอาบัติใด นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์
เป็นอกุศล
บรรดาอาปัตตาธิกรณ์นั้น อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :340 }