เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรง
แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์มี 4 นี้ คือ

1. วิวาทาธิกรณ์ 2. อนุวาทาธิกรณ์
3. อาปัตตาธิกรณ์ 4. กิจจาธิกรณ์

1. วิวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า
1. นี้ธรรม นี้อธรรม
2. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย
3. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้
4. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
5. นี้ตถาคตบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
6. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ
7. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก
8. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ
9. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน
ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ การด่าทอในเรื่องนั้นใด
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์

2. อนุวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :331 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้
ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์

3. อาปัตตาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง 5 กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง 7 กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์
นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์

4. กิจจาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน
ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ (1) อปโลกนกรรม (2) ญัตติ-
กรรม (3) ญัตติทุติยกรรม (4) ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ 4 อย่าง จบ

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
[216] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
มูลเหตุแห่งวิวาท 6 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง 3 เป็นมูลแห่ง
วิวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

วิวาทมูล 61
มูลเหตุแห่งวิวาท 6 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อะไรบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
1 วิ.ป. 8/272/207, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/36/484-485

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :332 }