เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 7. ติณวัตถารกะ
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[214] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้า
แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :329 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติ
เหล่านั้น เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความ
เห็น เว้นผู้ไม่ได้อยู่ในที่นั้น
ติณวัตถารกะ จบ

8. อธิกรณะ
ว่าด้วยอธิกรณ์ 4 อย่าง

เรื่องภิกษุและภิกษุณีวิวาทกัน
[215] สมัยนั้น พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาทกับ
พวก ภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าข้างพวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุ
ให้ไปเข้าข้างภิกษุณี
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระฉันนะจึงได้เข้าข้างพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไป
เข้าข้างภิกษุณีเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะเข้าข้าง
พวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไปเข้าข้างภิกษุณี จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :330 }