เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 7. ติณวัตถารกะ
ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่อง ด้วย
คฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน”
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศ ให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลาง
สงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อ
ประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน”
[213] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตน ใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :328 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 7. ติณวัตถารกะ
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน
ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[214] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่าม
กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์
เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้า
แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :329 }